รู้หรือไม่ว่า ในปี 2561 ประเทศไทยสร้างขยะพลาสติกเป็นจำนวนกว่า 2 ล้านตัน ไม่เพียงเท่านั้นกรุงเทพฯ ยังติดอันดับเมืองที่มีคุณภาพอากาศแย่ เป็นอันดับ 23 ของโลก และอันดับ 1 ของจังหวัดในประเทศไทยที่มีคุณภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์เสื่อมโทรมอีกด้วย ทั้งนี้เมื่อมองถึงปริมาณขยะมูลฝอยเฉพาะในปี 2558 กรุงเทพฯ มีปริมาณขยะมูลฝอยสูงถึง 27 ล้านตัน โดยมีเพียง 31% เท่านั้นที่ได้รับการจัดการขยะอย่างถูกวิธี สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลกระทบรุนแรงต่อสิ่งแวดล้อม จึงเป็นเหตุให้รัฐบาลได้กำหนดเรื่องปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติที่ต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วน

กลุ่มเซ็นทรัลเล็งเห็นถึงความสำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาสิ่งแวดล้อมมาโดยตลอด และมุ่งมั่นที่จะเป็นต้นแบบการพัฒนาอย่างยั่งยืนของกลุ่มธุรกิจค้าปลีกและบริการ จากภายในสู่ภายนอกองค์กร โดยในปีพ.ศ. 2562 กลุ่มเซ็นทรัลจะเป็นส่วนหนึ่งในแรงขับเคลื่อนสร้างโลกสีเขียวอย่างยั่งยืน ผ่านแคมเปญเพื่อสิ่งแวดล้อม “เซ็นทรัล กรุ๊ป เลิฟ ดิ เอิร์ธ” (CENTRAL Group Love the Earth)

ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุล ประธานกรรมการ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด และที่ปรึกษา Central Group Sustainability กล่าวว่า การประกอบกิจการธุรกิจในปัจจุบัน ต้องคำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นแกนหลัก โดยมุ่งเน้นการสร้างความยั่งยืน (Sustainability) ครอบคลุม 4 ด้านหลัก คือ PEOPLE, PLANET สิ่งแวดล้อม, PROSPERITY การพัฒนาความมั่งคั่ง โมเดิร์น เทคโนโลยี ออนไลน์ ออฟไลน์ และ PEACE & PARTNERSHIPS สันติภาพและความร่วมมือทั้งนี้ปัจจุบันปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุกคน ที่ต้องตระหนักและร่วมผลักดันให้ปัญหาเหล่านี้คลี่คลายลง

สำหรับธุรกิจค้าปลีกและบริการ นับเป็นธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับผู้คนหลากหลายภาคส่วน ทั้งภาครัฐ และเอกชน ทั้งนี้เพื่อให้กลุ่มเซ็นทรัล บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงได้วางกรอบการดำเนินงาน 4 ประการ ได้แก่ 1. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change), 2.การใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ (Resource Efficiency), 3.การบริหารจัดการขยะมูลฝอย (Waste Management) และ 4. การบริหารห่วงโซ่คุณค่า (Value Chain Management) เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ของการพัฒนาด้านเศรษฐกิจควบคู่ไปกับการส่งต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนแก่คนรุ่นหลังต่อไป

โดยแนวทางด้านสิ่งแวดล้อมทั้ง 4 ประการข้างต้นนั้น ตรงกับวัตถุประสงค์ขององค์การสหประชาชาติ ทั้ง 4 ข้อ ได้แก่ ด้านการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (SDG13), การบริโภคและการผลิตอย่างยั่งยืน (SDG12), การพัฒนาเมืองและชุมชนอย่างยั่งยืน (SDG11), การมีน้ำสะอาดและการมีสุขอนามัยที่ดี (SDG6)

พิชัย จิราธิวัฒน์ กรรมการบริหาร บริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด กล่าวว่า ในฐานะที่กลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้นำด้านธุรกิจค้าปลีกและบริการของประเทศไทย เราตระหนักถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมที่อยู่รอบตัวมาตลอดกว่า 72 ปีที่ผ่านมา เพื่อผลักดันให้กลุ่มเซ็นทรัลเป็นต้นแบบที่ดีในด้านการพัฒนาด้านสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน โดยในปี 2562 กลุ่มเซ็นทรัลมุ่งมั่นแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง ผ่านแคมเปญ “เซ็นทรัล กรุ๊ป เลิฟ ดิ เอิร์ธ (Central Group Love the Earth)” เพื่อสร้างประโยชน์ทั้งในระดับองค์กร ระดับชุมชน และระดับมหภาค ผ่าน 3 โครงการหลัก ดังนี้

1. Journey to Zero - An effort to reduce waste and minimise environmental impact through business, focusing on two approaches:

  1. Zero Waste to Landfill (ลดปริมาณขยะมูลฝอย) รณรงค์ลดและคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อไม่ก่อให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรม ดังนี้ (ลดปริมาณขยะมูลฝอย) รณรงค์ลดและคัดแยกขยะจากต้นทาง เพื่อไม่ก่อให้เป็นอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมผ่านกิจกรรม ดังนี้

    - การลดใช้พลาสติก (Plastic Reduction) เช่น การรณรงค์ลดใช้ถุงพลาสติกผ่านแคมเปญ Say No To Plastic อาทิ ท็อปส์ และ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ ในปี 2561 สามารถลดใช้ถุงพลาสติกได้ถึง 7 ล้านใบ, การลดการใช้ถุงพลาสติกที่ใช้ครั้งเดียว, โครงการงดให้ถุงพลาสติกทุกวันที่ 4 ของทุกเดือน, การลดการใช้หลอดพลาสติกในร้านอาหารของเครือซีอาร์จี โดยในปี 2561 สามารถลดได้ถึง 13.6 ล้านหลอด, การใช้หลอดข้าวโพดแทนหลอดพลาสติก ในท็อปส์ และเซ็นทรัล ฟู๊ด ฮอลล์, และการใช้ภาชนะทดแทน เป็นต้น ทั้งนี้ในปี 2562 (ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม – 30 เมษายน 2562) มีลูกค้าปฏิเสธไม่รับถุงพลาสติกถึง 4.8 ล้านครั้ง

    - การจัดการคัดแยกขยะ (Waste Segregation) แยกขยะเป็น 4 ประเภทตามหลักสากล ได้แก่ ขยะอินทรีย์ (ถังสีเขียว), ขยะรีไซเคิล (ถังสีเหลือง), ขยะทั่วไป (ถังสีน้ำเงิน) ,ขยะอันตราย (ถังสีแดง) โดยติดตั้งถังขยะที่มีสัญลักษณ์และสีเป็นเอกลักษณ์ให้ครอบคลุมทุกศูนย์การค้าในเครือ เพื่อสร้างการรับรู้และให้ความรู้เกี่ยวกับการแยกขยะแก่ลูกค้าและพนักงานในองค์กร ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการหารือกับพันธมิตรในการนำขยะที่ได้ไปแปรรูปหรือสร้างประโยชน์ต่อได้อย่างไร เช่น GEPP Sa-Ard ltd, Indorama Ventures (IVL), TPBI Public Company ltd. เป็นต้น , การให้ความรู้ด้านการคัดแยกขยะให้แก่โรงเรียน ชุมชน เด็กเล็ก เช่น บ้านนาทรายน้ำรอด จังหวัดอุดรธานี, บ้านโป่งแมลงวัน จังหวัดนครราชสีมา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    - ลดการสร้างขยะอาหาร (Food Waste) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อลดปัญหาอาหารเหลือค้าง โดยอาหารที่เหลือจากการขาย, การบริโภคของพนักงาน จะนำมาแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ อาหารที่ยังรับประทานได้ และอาหารที่ไม่สามารถรับประทานได้ ทั้งนี้ สำหรับอาหารที่ยังรับประทานได้ จะส่งต่อให้แก่เด็ก เยาวชน และผู้ขาดแคลนโอกาส โดยปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลร่วมมือกับมูลนิธิเอสโอเอส Scholar of Sustenance (SOS) ในการส่งต่ออาหารจาก เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทาราแกรนด์ แอท เซ็นทรัลลาดพร้าว, เซ็นทารา วอเตอร์เกท พาวิลเลี่ยน และเซ็นทรัล ฟู๊ด ฮอลล์ สาขาเซ็นทรัล ชิดลม ให้ถึงมือน้องๆ ในมูลนิธิบ้านพระพรและบ้านราชาวดี โดยสามารถสร้างมื้ออาหารได้มากกว่า 100,000 มื้อ คิดเป็นการลดปริมาณขยะอาหารได้ถึง 34 ตัน ส่วนอาหารที่ไม่สามารถทานได้ ขณะนี้กลุ่มเซ็นทรัลกำลังเจรจากับพาร์ทเนอร์เพื่อหาแนวทางในการแปรรูปเป็นปุ๋ยอินทรีย์และก๊าซชีวภาพ

  2. Zero Carbon (ปราศจากการสร้างคาร์บอน) การลดปัญหามลพิษด้วยพลังงานสะอาด (Clean Energy)

    - การติดตั้งแผงพลังงานโซล่าร์เซล บนหลังคาศูนย์การค้าในเครือ (Solar Rooftop) นอกจากสามารถลดปริมาณการใช้ไฟฟ้าและประหยัดพลังงานได้อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว การผลิตกระแสไฟฟ้าด้วยวิธีนี้ยังไม่มีการปล่อยของเสีย หรือสารพิษออกสู่สิ่งแวดล้อมอีกด้วย ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลใช้พลังงานไฟฟ้าจาก โซล่าร์เซล ทั้งหมด 11 สาขา สามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ 5,800 เมกะวัตต์ ต่อชั่วโมง และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ 3,300 ตันคาร์บอนไดออกไซต์ ต่อปี เช่น เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัล พลาซา อุบลราชธานี, โรบินสัน ไลฟ์สไตล์ เพชรบุรี

    - สถานีอัดประจุไฟฟ้า (EV Charger) – ห้างเซ็นทรัลถือเป็นห้างแรกที่ติดตั้งสถานีอัดประจุไฟฟ้าในประเทศ โดยมุ่งหวังที่จะรองรับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าที่หันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้ามากขึ้น รวมถึงเมื่อมีการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงน้อยลง ก็สามารถช่วยลดมลพิษบนท้องถนนให้น้อยลงไปด้วย ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลติดตั้ง EV Charger ทั้งหมด 12 สาขา 20 จุด เช่น เซ็นทรัลเวิลด์ , เซ็นทรัล ชิดลม, เซ็นทรัล พลาซา ศาลายา และมีแผนที่จะติดตั้งเพิ่มให้ครบทุกศูนย์การค้า

2. Central Green – การปรับภูมิทัศน์โดยรอบศูนย์การค้า ด้วยการจัดทำสวนสาธารณะ การบูรณาการพื้นที่ริมคลอง การจัดทำเครื่องดักไขมัน และการปรับสภาพน้ำในคลองข้างศูนย์การค้า เพื่อให้พื้นที่ 4 ตร.กม. โดยรอบศูนย์การค้า เกิดความสะอาด สวยงาม และน่าอยู่อาศัย โดยเริ่มโครงการจากการบำบัดน้ำเสียและการปรับภูมิทัศน์บริเวณพื้นที่ถนนวิภาวดีรังสิต-ลาดพร้าวเป็นที่แรก ปัจจุบันกลุ่มเซ็นทรัลจัดทำโครงการแล้วทั้งหมด 31 สาขา ครอบคลุมพื้นที่ทั้งหมด 70,000 ไร่ และมีแผนที่จะดำเนินงานอีก 24 สาขา , การปรับภูมิทัศน์บริเวณรอบร้าน แฟมิลี่มาร์ท

3. Forest Restoration – ปลูกต้นไม้ ฟื้นฟูผืนป่า ได้แก่ โครงการปลูกป่าบางขุนเทียน บนพื้นที่ 36 ไร่, โครงการ คุ้งบางกะเจ้า 23 ไร่, โครงการ “สร้างอาหารยั่งยืน...ฟื้นคืนป่าน่าน” รณรงค์ปลูกป่าจำนวน 200 ไร่ร่วมกับองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ณ จังหวัดน่าน และโครงการส่งเสริมการปลูกกาแฟอินทรีย์รักษาป่าภูชี้เดือน ณ จังหวัดเชียงราย พื้นที่กว่า 500 ไร่ เป็นต้น

กลุ่มเซ็นทรัล เชื่อมั่นว่าการรักษ์โลกที่ยั่งยืน เริ่มต้นได้ที่ “ตัวเรา” เพื่อประโยชน์สู่ชุมชนโดยรอบ และขยาย วงกว้างไปสู่ในระดับประเทศในที่สุด เพื่อส่งต่อโลกสีเขียวที่มีคุณภาพให้กับคนรุ่นหลังต่อไป


แกลลอรี่